
Super User
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้ทราบถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดโดยในความหมายนี้เน้นที่การสื่อความหมายเป็นหลัก มิได้เน้นที่รูปร่างหรือรูปแบบของความเป็นข้อมูลข่าวสาร กล่าวคือ สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารได้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปร่าง หรือรูปแบบของกระดาษที่มีข้อความหรือแฟ้มเอกสาร แต่หมายความรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปรากฏให้เห็นเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง และสิ่งอื่นๆที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรู้ความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยสภาพขอสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ เช่น ประจุไฟฟ้าแม่เหล็ก ฟิล์ม ไมโครฟิล์ม รูปภาพ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ คอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” จึงให้ความสำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้อกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้
ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร ?
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารไว้ 4 วิธี ดังนี้
1.) เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการสร้างและการจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูล ข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2.) เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการคู่มือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้อ้างถึง มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็น การผูกขาด ตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
3.) เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น
4.) การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาค้นค้าเป็นการทั่วไป
เมื่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สรุปได้ดังนี้
1.) โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
2.) โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
3.) โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดกับหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป
4.) โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์”
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร?
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เป็น “สิ่งเฉพาะตัว” ของบุคคล ไม่ว่าในแง่มุมใด เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติ สุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน เป็นต้น
ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลยัง ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีสิ่งบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นของบุคคลใด โดยอาจเป็น รหัส หมายเลข รูปถ่าย หรือ สิ่งบ่งชี้อย่างอื่นก็ได้
โดยปกติคนเราจะมีความเป็นอยู่ส่วนตัวในการดำรงชีวิตระดับที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือรำคาญใจ ซึ่งมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญ ได้รับรองว่าบุคคลมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ผู้ใดจะรุกล้ำความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นมิได้
ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้เปลี่ยนแปลงฐานะ จากสภาตำบลห้วยยาง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 จนถึงปัจจุบัน
https://hyk.go.th/annual-results-report/itemlist/user/904-superuser?start=870#sigProGalleria6c8e81018f
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
- ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน
อัตราค่าปรับ
- ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
- ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
- ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
- ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
- เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
- เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
- เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
อัตราภาษี
เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ
การอุทธรณ์การฟ้องศาล
- ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน
ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี
- ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
- ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
- ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
- ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
อัตราภาษี
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
- ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
- ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
- ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
- ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
อัตราโทษและค่าปรับ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม
- กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
- กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
- กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
- กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
- กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
- กิจการที่เกี่ยวกับยา
- กิจการที่เกี่ยวกับไม้
- กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
- เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต
อัตราโทษและค่าปรับ
- ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้
ติดต่อชำระภาษี
งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 34220 โทร. 045-251564 แฟกซ์ 045-251564 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"
ช่องทางการติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร หมู่ที่ 3 บ้านดอนเย็นใต้
ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี 34340.
โทร. 045-429546 แฟกซ์ 045-429546 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
“พัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างชุมชนเข็มแข็ง ส่งเสริมการเกษตรมีศักยภาพ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
- การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- การพัฒนาด้านสังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต 4.การพัฒนาด้านอนุรักษท์รัพยากรธรรมชาติและบริหารจัดการส่ิงแวดล้อม
- การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถ่ิน 6. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรและการบริการประชาชน
เป้าหมาย (Goal)
เป้าหมาย (Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)
- ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก สาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
- ประชาชนมีแหล่งน้าเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรที่เพียงพอ
- มีความเข็มแข็งในชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น
- ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้เพียงพอ สามารถพ่ึงตนเองได้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสมัยใหม่ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดมีการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิตของท้องถ่ิน ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสได้รับสวัสดิการสังคมอย่างสมดุลเท่าเทียม
- ประชาชนมีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพเบ้ืองต้นและปูองกันโรคติดต่ออย่างเป็นระบบ
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนสงบสุข ปราศจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเกิดความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ไม่เป็นมลพิษ ประชาชนเกิดองค์ความรู้และตระหนักในการดูแลรักษา
- วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ สืบทอด
- การบริหารจัดการขององค์กร แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมีความทันสมัยและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กองการศึกษา

นางนันท์นภัส จันทลา
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
โทร. 099-3844859

นางอินทิรา ร่วมสุข
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

จ่าเอกธีระพงษ์ บุตรวัน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางณัฐชญาณีย์ สิริวรรณะกุล
ครู คศ.2

นางสาววันทะนา คำมั่น
ครู คศ.1

นางวลัญลักษณ์ ลาวัลย์
ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา

นางสาววิภาวดี เกษชาติ
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ

นางสาวเสาวลักษณ์ สีแสด
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางรุ่งนภา นามวงษ์
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางวิภาพร ยืนยง
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางสาวสุพรรษา คำมั่น
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางสาวสุปรีญา วันเพ็ญ
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางสาวกัญญาภรณ์ ดวงมาลา
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางฉวีวรรณ วัจนา
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางนาตยา ถิ่นขาม
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางสุมิตรา กัลหาวัล
ผู้ดูแลเด็ก

นางสาวเจียมจิตร ป้องคำ
ผู้ดูแลเด็ก

นางสาวปิยะเนตร เหล็กกล้า
ผู้ดูแลเด็ก

นางสาวณิชากร ทองคำ
ผู้ดูแลเด็ก

นางสาวพิมลนาฎ แก้วแก่นคูณ
ผู้ดูแลเด็ก

นางสาวนัทชานันร์ ไชโย
ผู้ดูแลเด็ก
กองช่าง

นายวีระศักดิ์ สุรังกาญจน์
ผู้อำนวยการกองช่าง
โทร. 088-5820410

นายวชิรศักดิ์ ละมูล
นายช่างโยธาชำนาญงาน

นางสาวณัชชาภัทร เส่งตระกูล
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายภุชพงษ์ สืบสิงห์
ผู้ช่วยนายช่างโยธา

นายอดิเรก ฉิมทองดี
ผู้ช่วยนายช่างไฟฟ้า

นายพอเจตน์ ห้วยยาง
ผู้ช่วยนายช่างเขียนแบบ

นางสาวฐิยะณัฐ จริยเวชช์วัฒนา
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นายวีระศักดิ์ พลที
พนักงานผลิตน้ำประปา (ทักษะ)

นายอติมนต์ แปลงศรี
พนักงานผลิตน้ำประปา

นางสาวฐิติมา สวัสดิพงษ์
คนงานทั่วไป
กองคลัง

นายวีระศักดิ์ สุรังกาญจน์
ผู้อำนวยการกองช่าง
รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองคลัง
โทร. 088-5820410

นางชลทิชา วรเลิศ
จ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ชำนาญงาน

นางสาวบุญนิสา สุดถนอม
เจ้าพนักงานพัสดุปฎิบัติงาน

นางแสนสุข ละมุล
ผู้ช่วยนักวิชาการเงินและบัญชี

นางสาวเยาวลักษณ์ มั่นธรรม
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
สมาชิกสภา

นายอมร วังศรีแก้ว
ประธานสภา

นายสมแพง รินทาง
รองประธานสภา

จ่าเอกสมภพ วีสเพ็ญ
ปลัดฯ/เลขานุประธานสภา

นายศรีธาตุ สีหา
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 1

นายจำลอง จันทร์สุข
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 2

นายเพลิน จันทร์อบ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 3

นนายสมแพง รินทาง
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 4

นายบัณทิตร์ นามเวช
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 5

นายผัน กิตติพันธ์
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 6

นายเสถียร โพธิ์ราช
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 7

นางสาวอารีย์ ภูมิคง
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 8

นายราตรี มั่นธรรม
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 9

นายอมร วังศรีแก้ว
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 10

นายทวี แก้วบุญเรือง
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 11