ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้จุดไฟเผาในที่โล่ง และยังเป็นเหตุฝุ่นละอองขนาดเล็กฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ช่วงต้นปี 2562 ประเทศไทยเกิดปรากฏการณ์ฝุ่นละอองปกคลุมอย่างหนาแน่น ฝุ่นฝุ่น PM2.5 หรือชื่อเต็มคือ Particulate matterwith diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8 ตัว วัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในอากาศ
1. หยุดการเผาในที่โล่ง
ฝุ่น PM2.5 กว่า 35% เกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่ง ไม่ว่าจะเป็นเผาใบไม้ เผาเศษขยะตามพงหญ้า เผาไร่นา เผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ทำเกษตรกรรม หรือควันเสียที่ลอยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดก๊าซพิษและฝุ่นละอองมากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มลพิษทางอากาศสูงมาก ๆ ต้องหยุดการเผาเด็ดขาด เพราะจะยิ่งซ้ำเติมให้สภาพอากาศเลวร้ายลงไปอีกฝุ่นพิษ PM 2.5 อันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากและไม่มีท่าทีว่าจะหมดไปได้ง่าย ๆ เราจึงควรเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติคุณภาพอากาศในการใช้ชีวิตประจำวัน และใส่ใจในการดูแลและป้องกันสุขภาพตัวเองก่อนที่จะสายเกินไป
2.ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้จุดไฟเผาในที่โล่ง
2.1 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้อง ประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ (4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสีเสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชน รวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็น หนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆได้
2.3 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 23 มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสอง พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.4 พระราชบัญญัติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
มาตรา 55 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 58 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
2.5 ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 220 ” หรือ “มาตรา 220 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท